การฝึกทักษะกระบวนการคิดทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง “สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม” โดยใช้แบบฝึกทักษะการคิด

Primary tabs

Titleการฝึกทักษะกระบวนการคิดทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง “สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม” โดยใช้แบบฝึกทักษะการคิด
Publication Typeงานวิจัยในชั้นเรียน
Year of Publication2562
Authorsนางสาวพัชราภรณ์ ศักดิ์ดา
Publisherโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์
Place Publishedกรุงเทพมหานคร
Abstract

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  เพื่อฝึกทักษะกระบวนการคิดและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมโดยใช้แบบฝึกทักษะการคิด และ 2)  เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แบบฝึกทักษะการคิด

     กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2561  จำนวน  185 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้  เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง ( Purposive  Sampling )   

     เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 

          1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดพื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมโดยใช้แบบฝึกทักษะ จำนวน 5 แผนการจัดการเรียนรู้ ใช้เวลาในการจัดกิจกรรม  10  ชั่วโมง

          2) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการศึกษาค้นคว้า  เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดความสามารถของผู้เรียนที่เกิดขึ้นในแต่ละวงจรและสิ้นสุดการดำเนินการประกอบด้วย 

                   2.1)  แบบทดสอบวัดทักษะการคิดพื้นฐาน 

                   2.2)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อย่างละ 30 ข้อ ซึ่งจากการทดสอบประสิทธิภาพพบว่า แบบทดสอบทักษะการคิดพื้นฐานที่สร้างขึ้นมีค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอยู่ระหว่าง 13.09 และค่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนอยู่ระหว่าง 15.81

          การวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์ทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ โดยสถิติที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ได้แก่สถิติอย่างง่ายได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ

     ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้แบบฝึกทักษะกระบวนการคิดเรื่อง“การดำรงชีวิตของพืช” ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ หลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

Citation Key326