การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการระดมสมอง เรื่อง พลังงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์

Primary tabs

Titleการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการระดมสมอง เรื่อง พลังงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์
Publication Typeงานวิจัยในชั้นเรียน
Year of Publication2562
Authorsนางฐานมญ มะณี
Publisherโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์
Place Publishedกรุงเทพมหานคร
Abstract

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ 2. เพื่อวิเคราะห์ผลการนำการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการระดมสมองไปใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์คอนแวนต์ และ 3. เพื่อวิเคราะห์ผลข้อดีและข้อด้อยของการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการระดมสมอง

     กลุ่มเป้าหมาย  ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 จำนวน 38 คน

     เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ประกอบด้วย

  1. แบบประเมินความสอดคล้องของนวัตกรรมกับการแก้ปัญหาการคิดอย่างสร้างสรรค์
  2. แบบประเมินความการคิดอย่างสร้างสรรค์
  3. แบบสังเกตพฤติกรรมในขณะการจัดการเรียนการสอน

     วิเคราะห์ข้อมูล  โดย       

        1. วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

            วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบบันทึกข้อมูลจากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราชน2560 ในหัวข้อต่างๆดังนี้
                1.1สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
                1.2คุณลักษณะอันพึงประสงค์
                1.3ตัวชี้วัดและมาตรฐานการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2560 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เนื้อหาสาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ

        2. วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ
          2.1 วิเคราะห์จำนวนนักเรียนและร้อยละของนักเรียนที่มีปัญหาในด้านสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2560       
           2.2 วิเคราะห์จำนวนนักเรียนและร้อยละของนักเรียนที่มีปัญหาในด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2560
          2.3 วิเคราะห์จำนวนนักเรียนและร้อยละของนักเรียนที่มีปัญหาในเนื้อหาสาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพมาตรฐาน ว 2.3  เข้าใจความหมายของพลังงาน การเปลี่ยนแปลงและการถ่ายโอนพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ ระหว่างสสารและพลังงาน พลังงานในชีวิตประจำ วัน ธรรมชาติของคลื่น ปรากฏการณ์ที่ เกี่ยวข้องกับเสียง แสง และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

     ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเป็นการเรียนการรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นส่วนสำคัญโดยใช้ปัญหาหรือการจำลองสถานการณ์เป็นเครื่องกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการอยากเรียนรู้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เผชิญหน้ากับปัญหาด้วยตนเอง จะทำให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะในการคิดหลายรูปแบบ เช่น การคิดวิจารณญาณ คิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ หลังจากจัดกิจกรรมการเรียนการรู้โดยใช้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการระดมสมองนักเรียนที่มีปัญหาด้านความคิดสร้างสรรค์ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 70 จำนวน 38

Citation Key324